วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

7 อุปนิสัยสู่ความสำเร็จ

0 ความคิดเห็น
 นิสัยแห่งความสำเร็จ 7 ประการ Stephen Covey เชื่อว่า คนที่ต้องการประสบความสำเร็จและมีความสุขในชีวิตอย่างแท้จริง จะต้องเริ่มจากการปลูกฝังนิสัยที่ถูกต้องให้กับตนเองก่อน ความสำเร็จต้องเกิดจากการเปลี่ยน แปลงจากภายใน (inside-out) ไม่ใช่จากการใช้เทคนิคต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้มาจากความคิด ความเชื่อของเราจริง ๆ หากบุคคลคน ๆ หนึ่งเลียนแบบแค่เทคนิคการใช้อำนาจของผู้นำ การใช้น้ำเสียง การแบ่งแยก แล้วปกครอง ในขณะที่เขาขาดนิสัยภายใน เช่น ความกล้าหาญ ความเสียสละ และการตัดสินใจที่ดี ในที่สุดลูกน้องหรือคนภายนอกก็ย่อมจะมองออกอยู่ดี ไม่ช้าก็เร็ว ว่าเขาขาดความเป็นผู้นำ
ดังนั้น ความสำเร็จที่จีรังยั่งยืนจะต้องเกิดขึ้นจากการปลูกฝังนิสัยภายใน อันเป็นนิสัยที่จะเกื้อกูลให้เรามีความสำเร็จ เป็นสุข ซึ่ง Covey เห็นว่ามีอยู่ 7 ประการด้วยกัน คือ

1. นิสัย Proactive หรือ "การรู้และเลือกด้วยตนเอง"

 หมายถึงการไม่ยอมให้จิตใจของเราตกอยู่ใต้อิทธิพลของความเคยชินเดิม ๆ การไม่ตกเป็นทาสประสาทสัมผัสทั้ง 5 การไม่ถูกครอบงำ เราจะต้องเป็นผู้คิดตัดสินใจ และเลือกทุกอย่างอย่างมีสติด้วยตนเอง

2. Begin with the End in Mind หรือการมีเป้าหมายที่ชัดเจนแน่นอน

คนเราจะทำอะไรได้จนเป็นผลสำเร็จจะต้องมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนแน่นอนไว้ในใจเสียก่อน แต่มนุษย์เราต้องมีเป้าหมายในใจด้วยว่า ตนนั้นต้องการเป็นคนที่มีนิสัยอย่าง ไร มีความคิดความเชื่ออย่างไร และมีหลักการอะไรที่สำคัญต่อ Covey แนะนำให้เราเลือกหาใส่ไว้ในใจคือ หลักการต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตและภาพลักษณ์เกี่ยวกับนิสัยที่เราต้องการ เช่น ความซื่อสัตย์ จริงใจ จะไม่ยอมให้ลาภ ยศ เงินทอง ชื่อเสียง มามีอำนาจเหนือคุณสมบัติข้อนี้ได้ มองโลกในแง่ดี เมตตากับคนที่อยู่ในฐานะ ที่ด้อยกว่า ให้ความสำคัญกับความสงบภายในมากกว่าวัตถุ นิสัยอื่น ๆ ที่ท่านต้องการ

ในฐานะเราเป็น Programmer เริ่มเขียน software ให้ตนเอง Software ข้างต้นจะทำให้เราเป็นคนใช้ชีวิตอย่าง มีหลักการ (principle-centered) ทำให้เรามีเครื่องนำทางชีวิต มีแสงสว่างแห่งปัญญา ช่วยให้เรามีวิจารณญาณที่ดี จะคิดอะไร ทำอะไรก็มีพลังเพราะรู้ว่าเรากำลังทำตามหลักการที่เราเลือกด้วยตนเอง หลักการเหล่านี้จะบอกเราเองว่าเราจะเป็นผู้นำแบบไหน จะเลือกใช้เวลาอย่างไร จะเลี้ยงลูกอย่างไร ในแง่การประกอบอาชีพ เราก็จะรู้ว่าจะวางตัวอย่างไรในอาชีพที่เราเลือก

3. First Thing First หรือการบริหารเวลาให้ถูกต้อง

Covey เห็นว่าคนส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับเรื่องที่ไม่สำคัญ แต่เป็นเรื่องด่วน หรือไม่ก็ใช้เวลาไปกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่คนที่มีปัญญา จะต้องใช้เวลาให้มากกับเรื่องที่ไม่ด่วน แต่มีความสำคัญ อันได้แก่ การวางแผน และคิดยุทธศาสตร์ การคิดถึงอนาคต และการคิดป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นแทนที่จะไปไล่ตามแก้ไขปัญหาทีละข้อ

4. นิสัยการคิดแบบ win/win

คือการมีความคิด มีการกระทำที่ตั้งอยู่บนหลักการแบ่งปันผลประโยชน์ให้คนอื่นด้วย ไม่ใช่คิดแค่ผลประโยชน์ของตน และสนใจแต่ความคิดของตนเองโดยไม่แคร์ความรู้สึกของคนอื่น การมองโลกแบบ win/win เป็นพื้นฐานสำคัญของการไว้วางใจซึ่งกันและกัน (trust) เกี่ยวกับโลกนี้ Covey เห็นว่า ชีวิตคนเราเสียเวลาไปมากมายที่จะแก้ไขความเข้าใจผิด ปัญหาทะเลาะเบาะแว้งระหว่างบุคคลในที่ทำงาน ในครอบครัว นอกจากนี้ คนเรายังเสียเวลาไปมากกับการเรียนรู้ศาสตร์ แห่งการเป็นผู้นำ การพูด การเจรจา เพื่อทำให้คนอื่นเข้าใจเรา ยอมทำตามเงื่อนไขที่เราต้องการ win/win ตรงกันข้ามกับนิสัยเอารัดเอาเปรียบคนอื่น หรือวิธีคิดตายตัวว่า ถ้าฉันถูก-เธอต้องผิด ถ้าเธอได้ประโยชน์-ฉันต้องเสียประโยชน์ การคิดแบบ win/win นี่เองที่เป็นพื้นฐานของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นปัจจัยให้เราเป็นที่เคารพ ชื่นชอบของคนรอบข้าง เป็นสิ่งที่จะทำให้เราเป็นนักเจรจา นักการขายที่ประสบความสำเร็จ และจะทำให้ความสัมพันธ์ของเรากับคนทุกประเภทรวมทั้งบุคคลในครอบครัวมีความราบรื่น เป็นสุข คนเราพอมีความไว้วางใจกัน จะพูดจาผิดหูไปบ้าง ทำอะไรผิดไปบ้าง อีกฝ่ายก็พร้อมที่จะรับฟังและให้อภัย

5. หัดเข้าใจคนอื่น ก่อนที่จะเรียกร้องให้คนอื่นมาเข้าใจตน

การสื่อสารเป็นทักษะที่มีความสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งใน การดำเนินชีวิตแต่มนุษย์ 90 เปอร์เซ็นต์ ในโลกต่างก็เข้าใจผิดคิดว่า communication skills คือความสามารถในการพูด การให้ความเห็น การวิพากษ์วิจารณ์ แต่ลืมไปว่า communication skills ที่สำคัญประการ หนึ่งคือ "การฟัง" เมื่อกล่าวเช่นนี้ หลายคนจะต้องสงสัยในทันทีว่า มีใครที่ไหนจะไม่รู้จักการฟัง แต่การฟังที่ Covey หมายถึง คือ ฟังให้รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งคิดอะไร มีความต้องการอะไร มีปัญหาอะไร มีความรู้สึกตอนพูดอย่างไร คนเรามี tactic ในการฟังหลายประเภท เช่น แกล้งทำเป็นฟัง แต่คิดเรื่องอื่น ในขณะทำเป็นตั้งใจฟังใจก็คิดว่าเราจะพูดโต้ตอบอย่างไร แต่การฟังที่ดี จะต้องอาศัยการทำงานของทั้งสมองด้านซ้าย และสมองด้านขวา ใช้สมองด้านซ้ายฟัง เพื่อเก็บข้อมูลที่เป็นคำพูดใช้สมองด้านขวาฟัง เพื่อหยั่งความรู้สึก ความต้องการลึก ๆ ของอีกฝ่าย การฟังที่ถูกวิธีจะทำให้เราหลีกเลี่ยงแนวโน้มที่จะเอาความคิด ความรู้สึกของตนเองเป็นที่ตั้ง โดยคิดเอาเองว่ามนุษย์คนอื่นเขา ก็คิดเหมือนเรา และยังทำให้เราสามารถให้คำแนะนำ ตีความ แก้ปัญหาให้คนอื่น ๆ อย่างตรงกับความต้องการ และความรู้สึกของอีกฝ่ายจริง ๆ ที่คนเราขัดแย้งกัน ก็เพราะไม่เข้าใจความคิด ความรู้สึกของกันและกัน ดังนั้น การตั้งใจฟังจะช่วยสร้างความเข้าใจและความสมานฉันท์ระหว่างกันได้

6. การยอมรับความแตกต่างของคนอื่น


นิสัยการยอมรับความแตกต่างของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างทางความคิด นิสัยใจคอ เป็นเงื่อนไขที่จะทำให้ คนเราสามารถทำงานร่วมกัน ได้เป็นทีม ขณะนี้ใน Business School ทั่วอเมริกามีการจัดระบบการทำงานของนักศึกษา ให้ทำรายงานเป็นทีม เสนอ presentation เป็นทีม และมีกำหนดการให้นักศึกษาไปทำการบ้านร่วมกันเป็นทีม เพื่อปลูกฝังนิสัยสามารถ ทำงานร่วมกับคนอื่นให้กับนักธุรกิจ รุ่นใหม่ ที่เป็นเช่นนี้เพราะ คนอเมริกันมีความเชื่อในเรื่อง Synergy หรือการที่พลังความคิดของคน 2 คน รวมกันแล้วจะได้ผลดีกว่าให้คน 2 คน ไป ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำงาน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ในสูตรคณิตศาสตร์ปรกติแล้ว 1+1 เท่ากับ 2 แต่ในสูตรของ synergy นั้น 1+1 มากกว่า 2 เสมอ และยิ่งเมื่อสามารถทำงานกันเป็นทีมหลาย ๆ คน ผลลัพท์ที่ได้ก็จะยิ่งใกล้เคียงความสมบูรณ์แบบมากขึ้น

7. นิสัยการแบ่งเวลาเพื่อใช้ในการฟื้นฟูพลังชีวิต

มนุษย์ เราที่ประกอบกิจการต่าง ๆ จนประสบผลสำเร็จได้ ก็เพราะใช้พลัง 4 ประการคือ พลังกาย พลังใจ พลังความคิด และพลังจิต พลังเหล่านี้ มีอยู่ก็หมดไปได้ หรือถึงจะมีอยู่มาก แต่คนอื่นก็อาจจะก้าวตามทัน หรือแซงหน้าเราไปได้ ทำให้เราอาจจะประกอบการงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเหมือนเดิม หรือทำได้เหนือคนอื่นอีกต่อไป ดังนั้น Covey จึงเน้นให้คนเรารู้จักฟื้นฟูพลัง ดังนี้ พลังกาย ฟื้นฟูด้วยการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ดูแลสุขภาพและออกกำลังกาย พลังใจ คือใช้เวลาพัฒนาความสัมพันธ์กับสมาชิก ครอบครัว เพื่อนฝูงบ้าง อย่างน้อยก็เพื่อไม่ให้ความสัมพันธ์กับคนเหล่านี้เกิดปัญหาให้เราต้องมาตามแก้ในภายหลัง และเพื่อให้เราได้รับความรัก ความเอื้ออาทร และความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง อย่าลืมว่ามนุษย์เราอยู่ในสังคมที่พึ่งพาอาศัยกัน ไม่มีใครมีชีวิตอยู่คนเดียวได้ในโลก พลังความคิด คือการหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อก้าวให้ทันโลก และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน พลังจิต คือหมั่นแสวงหาความรู้ที่นำมาซึ่งความสงบภายในหรือหมั่นทำสมาธิภาวนาบ้าง เพื่อให้จิต มีกำลังแข็งแกร่ง รับสภาพต่าง ๆ ได้ในทุกสถานการณ์


Read more ►

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปัญหาชีวิต

0 ความคิดเห็น
 เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 55 ผมตื่นประมาณ 6.00 น. อากาศเย็น สายลมพัดวิวๆ ขนแขนผมลุกซู่ ผมรู้สึกแปลกๆมากครับ และแล้วผมก็ออกเดินทางไปทำงาน

  ผมเดินทางมาถึงห้องพักเพื่อเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับการทำงานของผมที่ห้องพัก แรกเริ่มผมเดินไปเปิดประตู ใช้ลูกกุญแจไขทุกลูกแล้วก็ยังเปิดไม่ได้ ลักษณะคือผมบิดลูกบิดได้แต่เปิดประตูห้องไม่ได้

 แต่จู่ๆบิดไปบิดมาก็เปิดได้เอง ผมดีใจมากเพราะมันสายมากแล้ว ผมรีบไปแต่งตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า จับมือถือยัดใส่กระเป๋ากางเกงข้างซ้าย เดินออกมาทำงาน แต่ประตูล็อคครับ ซีวิตโคตรบัดซบเลย

  ผมพยายามเปิด ทั้งบิด งัด แคะ แต่ก็ไม่สามารถเปิดประตูได้  ผมตัดสินใจทุบชะเละเลย แล้วผมก็ต้องไปซื้อลูกบิดราคา 250 บาทมาเปลี่ยน

 ปัญหาชีวิตผมคือเปลี่ยนลูกบิดไม่เป็นครับ เตือนร้อนพี่ช่างให้มาช่วยเปลี่ยนและสอนให้ เฮ้อ ขอบันทึกไว้กันลืมแล้วกันครับ สำหรับวิธีเปลี่ยนลูกบิด เผื่อใครได้มีโอกาสเปลี่ยนเองงเหมือนผมบ้าง


1.การถอดลูกบิดออกจากประตู เริ่มด้วยการหารูเล็กๆ ที่บริเวณมือจับ (ลูกบิด) ด้านใน
จากนั้นให้ใช้คลิปหนีบกระดาษ ตะปูหรือแผ่นโลหะปลายแหลมขนาดเล็กที่ให้มาพร้อมกับ
ลูกบิดประตูตัวใหม่ (ถ้ามี) แล้วกดลงไปในรูเพื่อให้แกนล็อคลูกบิดคลายตัวออก


2.จากนั้นค่อยๆ ใช้มือดึงหัวลูกบิดออกมาจากกระบอกแกน แล้วจึงใช้ไขควงปาก แบนค่อยๆ
งัดที่ฝาครอบปิดฐานเพื่อเปิดออก)
[ฝาครอบบางรุ่นจะมีเกลียวในตัว ดังนั้นจึงต้องลองหมุนฝาครอบเพื่อคลายเกลียวดูก่อน ถ้าเราใช้ไขควงงัดแรงเกินไปฝาครอบอาจเสียหายได้]


3.ถอดตะปูเกลียวที่แผ่นปิดขอบออกด้วยไขควงแบบหัวสี่แฉกแล้วจึงดึงมือจับ ด้านนอกออกมาจากประตู


4.จากนั้นก็ใช้ไขควงมาถอดแป้นสลักกลอนออกจากช่องที่ขอบประตูเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการถอดลูกบิดตัวเก่าออกจากประตู

ส่วนวิธีการใส่ลูกบิดตัวใหม่นั้นก็มีขั้นตอนไม่ต่างไปจากการถอดลูกบิดออกจาก บานประตู
เพียงแต่เราทำตามขั้นตอนที่กล่าวมาโดยย้อนกลับไปเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการ ใส่แปลลักกลอนตัวใหม่กลับเข้าที่ช่องขอบประตู
จากนั้นใส่กระบอกแกนพร้อมลูกบิดจาก ด้านนอก แล้วจึงมายึดแผ่นปิดขอบด้านในด้วยตะปูเกลียว
จากนั้นก็ใส่ฝาครอบและหัวลูก บิดด้านในเพื่อความเรียบร้อยสวยงาม
และเมื่อติดตั้งเสร็จแล้วก็ให้ทดลองไขกุญแจแล้วขยับไปมาเพื่อตรวจหาข้อบกพร่องต่างๆ อีกครั้ง

นอกจากนี้วิธีการถอด - ใส่ลูกบิดประตูดังกล่าวยังสามารถใช้แก้ไขลูกบิดที่ชำรุด อาทิ ลูกบิดหลวม
ฝาครอบหลุดจากกระบอกแกนหรือรูกุญแจติดขัดได้ดีอีกด้วย

Read more ►

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตัวอย่างการคิดเชิงยุทธศาสตร์

0 ความคิดเห็น
ข้อความจากบทความเจาะจุดแข็ง "ชัยชนะในทางยุทธวิธีนั้นไม่มีทางชดเชยความเสียหายด้านยุทธศาสตร์ได้" จะเห็นได้ว่าการคิดเชิงยุทธศาสตร์มีความสำคัญยิ่งยวด การดำเนินชีวิตหากอยากประสบความสำเร็จ มีความสุข ร่ำรวยเงินทอง ต้องฝึกคิดเชิงยุทธศาสตร์(ความเห็นส่วนตัวครับ) เช้าวันอาทิตย์ผมจึงลองค้นหาจาก google เพื่อดูหลักการ ตัวอย่าง การคิดเชิงยุทธศาสตร์ ผมได้เจอบทความชื่อ รัฐบาลอยู่นาน…..ถ้าคิดเชิงยุทธศาสตร์ จากเวบไซต์ไทยโพส เขียนโดยศ.นพ.ประเวศ วะสี




1.ถ้าคิดด้วยอารมณ์ เอามันสะใจ เสี่ยงต่อการเกิดมิคสัญญีกลียุค
       สังคม ไทยที่กำลังร้อนระอุด้วยพายุอารมณ์แห่งความโกรธ ความเกลียด ความแค้น ความต้องการเอาคืน สุ่มเสี่ยงต่อการเดินเข้าไปสู่จุดพลิกผัน (Tipping Point) ที่เกิดมิคสัญญีกลียุค การคิดเชิงยุทธศาสตร์หมายถึงการคิดด้วยปัญญา รู้เท่าทันว่าทำอะไรแล้วจะเกิดอะไร แล้วทำตามยุทธศาสตร์ ไม่ทำตามอารมณ์รักหรือชัง ให้บ้านเมืองบรรลุเป้าหมายที่ดี ผมยกตัวอย่างการคิดเชิงยุทธศาสตร์ 2 ตัวอย่าง หลายครั้งแล้ว คือ
      หนึ่ง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงหมาดๆ อังกฤษมีการเลือกตั้งทั่วไป คนอังกฤษรักเชอร์ชิลล์ ซึ่งเป็นวีรบุรุษสงคราม แต่ไม่เลือกเชอร์ชิลล์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะรู้ว่าถ้าเชอร์ชิลล์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีจะไม่ปล่อยอินเดียเป็นอิสระ อังกฤษจะต้องไปทำสงครามกับอินเดียอีก ซึ่งคนอังกฤษไม่ต้องการ เขาจึงโหวตเชิงยุทธศาสตร์ ไม่เอาอารมณ์รักเชอร์ชิลล์มาเป็นเกณฑ์
      สอง กองทัพแดงของเหมาเจ๋อตงเกลียดเจียงไคเช็กเข้าไส้ เพราะเมื่อคราวเดินทัพทางไกลขึ้นไปสู่เยนาน เจียงไคเช็กส่งกองทัพมาไล่ฆ่าพลพรรคแดงตายไปตั้งครึ่ง เมื่อนายพลจางโซเหลียงฝ่ายคอมมิวนิสต์จับเจียงไคเช็กได้ที่เมืองซีอาน แทนที่จะฆ่าเจียงไคเช็กให้สมกับความแค้น โจวเอินไหลกลับเป็นผู้มาปล่อยเจียงไคเช็กด้วยตนเอง เพราะยุทธศาสตร์คือ รวมตัวกันเอาชนะญี่ปุ่น ไม่ใช่ฆ่าเจียงไคเช็กด้วยอารมณ์ นี่คือการคิดเชิงยุทธศาสตร์
 คนไทยใช้อารมณ์รัก ชัง ต่อสู่กันไปมาเกือบ 100 ปีแล้ว ถึงเวลาที่ทุกฝ่ายน่าจะคิดเชิงยุทธศาสตร์ให้บ้านเมือง ถ้าข้ามมิคสัญญีกลียุค เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงและความสงบสุข

2.ตามสภาพความเป็นจริง…เครือข่ายทักษิณทรงพลังมหาศาล
      การ คิดเชิงยุทธศาสตร์ต้องดูสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่ตามที่ควรเป็นหรืออยากให้เป็น ตามสภาพความเป็นจริงเครือข่ายทักษิณทรงพลังมหาศาลโดยเฉพาะหลังรัฐประหาร 2549 ทักษิณเป็นผู้นำคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ภายหลังถูกรัฐประหาร แล้วสามารถต่อสู้เอาชนะกลับมามีอำนาจได้อีก พลังมหาศาลที่ว่านี้ประกอบด้วย
 (1) พรรคการเมือง คือ พ.ท. เพื่อการต่อสู้ในระบบรัฐสภา
 (2) มวลชนคนเสื้อแดง
 (3) อาจได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังติดอาวุธ
 (4) อำนาจการสื่อสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ
 (5) สามารถว่าจ้างบริษัทล็อบบี้ยิสต์และทนายต่างประเทศเพื่อการสนับสนุนทางสากล
 (6) กำลังทรัพย์มหาศาลที่อยู่เบื้องหลัง
 ทั้งหมดรวมกันเป็นพลังต่อสู้อันมหาศาล ที่ไม่มีฝ่ายใดทนได้

      ฉะนั้น เมื่อกองทัพทำรัฐประหาร 2549 ก็ดี เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลช่วง 2-3 ปีก่อนก็ดี จึงเผชิญกับพลังต่อสู่อันมหาศาลนี้ เกิดความรุนแรงจนมีคนไทยต้องบาดเจ็บล้มตาย เกิดบาดแผลทางสังคมกันต่อมา ในที่สุดพรรคเพื่อไทยก็ชนะเลือกตั้งมาเป็นรัฐบาลในปัจจุบัน นี้พูดตามสภาพความเป็นจริงของการต่อสู้ ไม่ได้พูดเชิงศีลธรรมว่าใครผิดใครถูกอย่างไร

3.ตามตรรกะ…เมื่อเพื่อไทยเป็นรัฐบาล บ้านเมืองควรจะสงบ
      เมื่อ ฝ่ายที่มีกำลังมากชนะแล้วทำการปกครอง บ้านเมืองก็ควรสงบ เหมือนเมื่อเสือ 2 ตัว ต่อสู้กันเพื่อแย่งกันเป็นจ่าฝูง เมื่อกำลังยังคือๆ กัน การต่อสู้ก็รุนแรงยืดเยื้อ เลือดตกยางออก แต่เมื่อตัวหนึ่งชนะ ตัวที่แพ้ตายไปหรือหนีไป ก็เกิดความสงบ
     ตามปกติฝ่ายที่เป็นรัฐบาลย่อมไม่อยากให้เกิดความรุนแรง ถ้าเกิดความรุนแรงขึ้นไม่ว่าเพราะเหตุใด รัฐบาลจะเป็นฝ่ายลำบาก
     การ คิดเชิงยุทธศาสตร์ตรงนี้ก็คือ ไม่ควรมีการคิดล้มรัฐบาล ไม่ว่าด้วยการรัฐประหาร หรือวิธีใดอื่น เพราะพลังต่อสู้ของเครือข่ายทักษิณอันมหาศาล 6 ประการยังคงอยู่ ก็จะเกิดการต่อสู้รุนแรงเหมือนช่วง 2551-2553 อีก หรือแรงกว่า
     รัฐบาลก็ ไม่ควรกลัวว่าใครจะมาล้มรัฐบาลได้ ถ้ากลัวคนอื่นจะมาล้มรัฐบาล จะทำให้วางยุทธศาสตร์ผิด รัฐบาลที่มีกำลังขนาดนี้คนอื่นล้มไม่ได้ จะล้มก็เพราะตัวเอง การต่อสู้เพื่อเอาชนะกับการบริหารชัยชนะเพื่อรักษาอำนาจและเพื่อประโยชน์ของ บ้านเมือง ไม่เหมือนกัน จะกล่าวถึงเรื่องนี้ในตอน 5 คนในเครือข่ายรัฐบาลควรจะคิดเชิงยุทธศาสตร์ว่าถ้าไปทำอะไรที่ก่อให้เกิดความ รุนแรง รัฐบาลจะลำบาก

4.เมื่อไม่ควรคิดล้มรัฐบาล ก็ควรคิดช่วยให้รัฐบาลทำงานได้ผล
      ถ้า คิดตามตรรกะ ว่าไม่ควรคิดล้มรัฐบาล ก็หมายถึงรัฐบาลจะอยู่นาน ถ้ารัฐบาลอยู่นานแล้วสามารถทำงานได้ผล บ้านเมืองก็ดีขึ้น แต่ปัญหาปัจจุบันทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความซับซ้อนและยากยิ่ง ไม่มีรัฐบาลใดๆ สามารถทำงานให้สำเร็จได้ด้วยการใช้อำนาจแบบเดิมๆ โดยปราศจากความรู้และการมีส่วนร่วมของสังคม ยามวิกฤติคนไทยทุกภาคส่วนควรจะรวมตัวกันก้าวข้ามสภาวะวิกฤติให้ได้ รัฐบาลเองก็ควรจะตระหนักรู้ว่าถ้าต้องการอยู่ให้ได้นานและทำงานได้ผล ไม่สามารถทำโดยใช้อำนาจอย่างเดียว แต่ต้องเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง ต่อไปนี้เป็นหลักการ 7 ประการที่คนไทยควรจะมีความมุ่งมั่นร่วมกัน
 (1) อนาคตของประเทศไทยต้องมุ่งมั่นร่วมกันในการสร้างความเป็นธรรมและลดความ เหลื่อมล้ำ คนไทยทุกคนจะต้องมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
 (2) การจะสร้างความเป็นธรรมได้ คนไทยต้องมีจิตสำนึกใหม่ และมีการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ
 (3) การคิดเชิงอำนาจและโครงสร้างอำนาจ ทำให้สังคมไทยอ่อนแอทางปัญญา ไม่มีสมรรถนะพอที่จะเผชิญกับความซับซ้อนและความยากของสังคมปัจจุบันได้ เสี่ยงต่อการเกิดสภาวะรัฐล้มเหลว เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่ใครจะแก้ไขได้ง่ายๆ ถ้าไม่ร่วมกันทำความเข้าใจอย่างจริงจัง
 (4) การกระจายอำนาจไปให้ชุมชนจัดการตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง และจังหวัดจัดการตนเองให้ได้มากที่สุด จะลดความตึงเครียดของประเทศ ลดภาระหนักอึ้งของรัฐบาลและราชการในส่วนกลางลง เปิดโอกาสให้ทำงานมีคุณภาพมากขึ้น
 (5) ความยากจนและความอยุติธรรมในสังคมจะแก้ไขไม่ได้ ถ้าไม่ปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูประบบภาษี และการจัดการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ปฏิรูประบบความยุติธรรม บ้านเมืองจะไม่มีวันสงบสุขถ้าเราไม่สามารถแก้ความยากจนและความอยุติธรรมใน สังคมได้
 (6) ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ซึ่งไม่มีใครทำได้ นอกจากประชาชนตื่นตัวทางการเมืองและเข้ามามีบทบาทในการปฏิรูป ฉะนั้นอย่าไปตกอกตกใจกับการที่ประชาชนกำลังมีความตื่นตัวทางการเมือง ไม่ว่าจะสีแดง สีเหลือง สีอะไรๆ หรือไม่มีสี ในที่สุดประชาชนที่ตื่นตัวทางการเมืองจะค้นพบเองว่าเขาต้องปฏิรูปโครงสร้าง อำนาจ บ้านเมืองจึงจะเกิดความสงบสุข ไม่ตกเป็นเบี้ยของการแย่งชิงอำนาจในส่วนบน ซึ่งยัดเยียดความตายมาสู่เขา และไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงแก่ประชาชน
      คนไทยต้องไม่โกรธไม่เกลียด ประชาชนที่ตื่นตัวทางการเมืองเหล่านี้ ไม่ว่าเขาจะรักหรือเกลียดทักษิณ ไม่ว่าเขาจะนิยมหรือไม่นิยมสถาบัน คนเราต่างจิตต่างใจ มีเหตุปัจจัยและพื้นฐานต่างๆ กันไป ที่จะรักหรือไม่รักใครหรืออะไร เป็นธรรมดาเช่นนั้นเอง ไม่ควรจะเอามาเป็นเหตุที่ทำให้คนไทยต้องฆ่ากัน ที่สำคัญกว่าคือ ทุกคนล้วนเป็นเพื่อนมนุษย์ เป็นเพื่อนคนไทยของเรา ลูกหลานของเราจะต้องสามารถอยู่ร่วมกันบนแผ่นดินนี้อย่างมีเกียรติและมีความ สุข
 เปลี่ยนมุมมองจากความเกลียดชังเป็นความรักเพื่อนมนุษย์ แผ่นดินจะเย็นลง
 (7) ระบบการศึกษาและระบบการสื่อสารควรจะเป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งทาง เศรษฐกิจ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้คนทั้งชาติ จำเป็นต้องได้รับการปฏิรูปให้เป็นพลังที่พาชาติออกจากวิกฤติได้อย่างรวดเร็ว ลำพังนักการศึกษาคงจะทำไม่ได้ แต่ต้องอาศัยคนไทยทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน
      หลัก 7 ประการข้างต้นล้วนเป็นเรื่องยาก ไม่มีรัฐบาลใดๆ ไม่ว่าจะเก่งเท่าใด จะทำได้ตามลำพัง ต้องอาศัยการขับเคลื่อนทางปัญญาและขับเคลื่อนทางสังคมเข้ามาบรรจบกับการใช้ อำนาจรัฐ ที่เรียกว่า “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ภูเขานี้ถ้าเขยื้อนได้ ประเทศไทยจะสงบสุข จึงไม่ควรที่ทุกฝ่ายจะนิ่งดูดาย ให้รัฐบาลตะเกียกตะกายไปตามลำพัง เพราะถ้ารัฐบาลล้มเหลว บ้านเมืองของเราก็ล้มเหลว
 การร่วมมือกับรัฐบาลไม่ได้หมายความว่าไม่มีการตรวจสอบความถูกต้อง

5.การบริหารชัยชนะยากกว่าการบริหารการต่อสู้…ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
      แม้ ฝ่ายรัฐบาลจะมีพลังเหนือคู่ต่อสู้มากดังที่กล่าวในตอน 2 ก็อย่าประมาท เพราะการบริหารชัยชนะยากกว่าการบริหารการต่อสู้ เพราะในการต่อสู้ทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ แต่เมื่อชนะแล้วต้องแบกภาระในการบริหารบ้านเมืองให้ได้ผลซึ่งยาก และฝ่ายต่างๆ ที่ร่วมต่อสู้ด้วยกันมาก็มีความคาดหวังต่างๆ กัน เช่น บางคนหวังผลตอบแทนในเรื่องตำแหน่งและผลประโยชน์ ทำให้ต้องประนีประนอมในเรื่องสมรรถนะในการทำงาน ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ
     ตัวอย่าง ในประวัติศาสตร์มีมากมายที่ฝ่ายที่ชนะในการต่อสู้ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้ เช่น จิ๋นซีฮ่องเต้ ผู้ปราบแคว้นทั้ง 7 ได้รวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียว ต้องมีพลังมหาศาลจึงทำเช่นนั้นได้ และหวังว่าราชวงศ์ของพระองค์จะดำรงอยู่ได้หมื่นปี แต่อยู่ได้ 15 ปีก็เจ๊งแล้ว หรือเขมรแดงยึดอำนาจได้มาบริหารประเทศก็ไปไม่รอด ตัวอย่างอื่นๆ ยังมีอีกมาก
     ไม่ควรมีคนมาคิดล้มรัฐบาล แต่รัฐบาลต้องระวังอย่าให้ล้มเพราะตัวเอง ฝ่ายเสนาธิการของรัฐบาลและคุณทักษิณควรจะคิดเชิงยุทธศาสตร์ว่าจะใช้อำนาจที่ มีในทางที่ถูกต้องที่ควรอย่างไร ถ้าคิดเพื่อตัวเองก็ไม่คุ้ม และจะแพ้ แต่ถ้านำพลังมหาศาลที่มีมาสร้างความถูกต้องเป็นธรรม รัฐบาลก็จะอยู่ได้นาน ผู้คนสรรเสริญ
   การคิดชิงยุทธศาสตร์นี้ขอฝากไว้กับเพื่อนคนไทยทุกภาคส่วน.
Read more ►

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เจาะจุดแข็ง

0 ความคิดเห็น
 โบราณกล่าวไว้ว่า "มือเดียวต้านพายุสี่ด้านไม่ไหว" แม่้ทัพคนเดียวไม่อาจต้านศึกสองด้านได้ เวลาสู้รบจัดต้องรวมศูนย์กำลังทั้งหมดไปที่จุดเดียว เพื่อสลัดสถานะในการตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบทิ้ง

หากท่านได้เคยอ่านนิยายสามก๊ก จะพบว่าทั้งสามก๊กล้วนช่วงชิงสถานะในการใช้สองต่อหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์รวมแล้วแยก แยกแล้วรวม ประเดี๋ยวมิตร ประเดี๋ยวศัตรู วนเวียนไปจนรวมเป็นหนึ่งก๊ก

ตัวอย่างที่เห็นเด่นขัดที่สุดก็เป็นตอนที่กวนอูต้องเสียชีวิตจากการดำเนินนโยบายผิดพลาดเกี่ยวกับการช่วงชิงสถานะสองต่อ 1 ขอเล่าย่อๆดังนี้ครับ

หลังจากที่เล่าปี่ตีโจโฉพ่ายในศึกชิงเมืองฮันต๋ง เล่าปี่ได้ครองเมืองเกงจิ๋วและเมืองเสฉวนส่งผลให้เล่าปี่มีอิทธิพลมากขึ้นทุกวัน ทุกวัน โจโฉจึงต้องดำเนินการสองต่อหนึ่งโดยการส่งทูตไปเจรจากับซุนกวนโดยอ้างพระราชโองการว่าให้ยกทัพไปตีเสฉวน

ฝ่ายซุนกวนหลังจากได้เจรจากับทูตของโจโฉแล้ว ได้ข้อสรุปว่า การผูกมิตรกับโจโฉไม่สู้ดีนักเพราะเจตนาโจโฉเพียงต้องการให้ซุนกวนช่วยโจมตีเล่าปี่ แต่ปัญหาเรื่องที่เล่าปี่ให้กวนอูคุมเมืองเกงจิ๋วก็เป็นปัญหาที่หนักอกเช่นกัน

ดังนั้นแล้วด้วยความละเอียดรอบครอบของซุนกวน จึงยังไม่ตัดสินใจ และได้ส่งทูตของโจโฉกลับอย่างมีมารยาท และในขณะเดียวกันก็ส่งจูกัดกิ๋นไปขอหมั้นลูกสาวกวนอูให้กับลูกชายของตน  จะได้ถือโอกาสนี้สืบลาดเลาของกวนอู

ดังคำกล่าวที่ว่า "ชัยชนะในทางยุทธวิธีนั้นไม่มีทางชดเชยความเสียหายด้านยุทธศาสตร์ได้" กวนอูแม้ปราดเปรื่อง ในทางการยุทธ มีความสามารถในการรบที่ไม่เป็นรองใคร กลับดำเนินงานด้านยุทธศาสตร์ที่ทำให้ตัวเองเริ่มก้าวสู่ฐานะการเป็นฝ่ายถูกกระทำทีละก้าวๆ จนกระทั่งในที่สุดก้ก้าวสู่หนทางแห่งความหายนะ เสียทั้งเมืองและชีวิต  

กวนอูแม้เก่งกาจในการใช้ง้าว สู้รบในสนามรบไม่เคยแพ้ใคร แต่ในครั้งนี้กวนอูมองไม่เห็นสถานการณ์ส่วนรวมทั้งหมด เมื่อจูกัดจิ๋นเอ่ยถึงเรื่องขอลุกสาวกวนอุไปเป็นสะใภ้ซุนกวน กวนอูโมโหมาก โกรธเป็นฝืนเป็นไฟ พร้อมเหยียดหยามซุนกวนว่า"ลูกพยัคฆ์ของข้าหรือจะลดตัวไปแต่งงานกับลูกหมา" ด้วยเหตุนี้ซุนกวนตัดสินใจเข้าร่วมโจโฉ บุกโจมตีเกงจิ๋วโดยทันที

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ก็เพราะผมเองชอบสามก๊กอยู่แล้ว และวันนี้ผมได้ไปอ่านหนังสือเรื่องเจาะจุดแข็ง เป็นงานเขียนของ MARCUS BUCKINGHAM และ DONALD O. CLIFTON, Ph.D.ผมเห็นว่ามันเข้ากับคำกล่าวที่ว่า"แม่ทัพคนเดียวไม่อาจต้านศึกสองด้านได้ เวลาสู้รบจักต้องรวมศูนย์กำลังทั้งหมดไปที่จุดเดียว เพื่อสกัดสถานะในการตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบทิ้ง"  ในการพัฒนาตนเองหรือการพัฒนางานเราเองก็ไม่อาจพัฒนาทุกเรื่องได้ หรือไม่อาจกำจัดจุดอ่อนในทุกๆเรื่อง เราควรเน้นการพัฒนาจุดแข็ง ปิดจุดอ่อนให้พอไม่ทำให้เกิดความเสียหายก็พอ เพราะหากเรามัวกำจัดจุดอ่อน เราอาจจะเสียทั้งเงินและอนาคตที่จะเป็นคนรวยนะครับ ผมของหยิบยกบ้างประเด็นในหนังสือมาเล่าสู่เพื่อนๆฟังดังนี้ครับ

เรามีสมมุติฐานที่ผิดสองประการ

1. เราทุกคนเรียนรู้ในเรื่องใดก็ได้แทบทุกเรื่อง
2. การพัฒนาที่ดีที่สุดคือทุ่มความสนใจที่จุดอ่อน


โอกาสที่จะประสบความสำเร็จนั้นพบว่า พรสวรรค์ของแต่ละคนมีความยั่งยืน และมีความพิเศษเฉพาะตัว ถ้าหากได้มุ่งเน้นพัฒนาจุดแข็งของคนๆ นั้นแล้ว มันจะเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลที่สูงกว่า เพราะเขาเคยทำการสำรวจในคน 1.7 ล้านคน 101 บริษัท 63 ประเทศ พบว่าในแต่ละวันได้เอาศักยภาพที่ดีทีสุดของตัวเองมาทำงาน เพียงแค่ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง โดยจะขอนิยามคำศัพท์ต่างๆ ดังนี้

จุดแข็ง คือ การทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้แทบสมบูรณ์แบบอย่างสม่ำเสมอ เราจะถือว่าเป็นจุดแข็ง ได้เมื่อสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอจนคาดหวังได้
จุดอ่อน ก็คือ อะไรก็ตามที่มาขัดขวางการปฏิบัติให้เป็นเลิศ

พรสวรรค์ มีคุณสมบัติอย่างน้อย 4 ข้อ คือ 1. ชอบทำ 2. มีความปรารถนา 3. เรียนรู้ได้เร็ว 4. ทำแล้วรู้สึกดี

ส่วนในเรื่องของจุดอ่อน ใครได้ยินก็อยากจะกำจัดทิ้งเสีย แล้วเราจะมีกลยุทธ์ในการกำจัดจุดอ่อนได้อย่างไร
1. ทำดีขึ้นอีกนิด อย่าไปคาดหวังว่าเราจะแก้ทุกอย่างภายในวันเดียว เพียงแค่ว่าเราทำดีกว่าเดิมอีกนิดเดียว
2. ลองใช่ความคิดสร้างสรรค์ บางทีอาจจะได้อะไรใหม่ๆ
3. ถ้ามันต่อต้านกันก็เอาจุดแข็งมาลบจุดอ่อน
4. ลองหาคนที่จะมาเป็นคู่คิด
5. ถ้าทำ 4 ข้อ ทั้งหมดแล้วยังไม่ดีขึ้นก็เลิกทำ อย่าไปดันทุรังเลย

ส่วนจุดแข็งนั้นจะมีลักษณะเฉพาะคือ
1. เราสามารถที่จะคาดหวังผลได้
2. จุดแข็งจะมีลักษณะเฉพาะจริงๆ
3. ถ้าเราอยากจะเป็นเลิศ เราต้องเพิ่มพูนจุดแข็ง มากกว่าที่จะไปลบจุดอ่อน



Read more ►
 

Copyright © ไอเดียชีวิต Design by O Pregador | Blogger Theme by Blogger Template de luxo | Powered by Blogger