การเจรจาต่อรอง
หมายถึง กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องมากกว่า
2 ฝ่ายขึ้นไป
เพื่อหาข้อยุติที่เป็นผลประโยชน์ระหว่างคู่เจรจาร่วมกัน
กระบวนการเจรจาต่อรองมิได้กำจัดวงอยู่เฉพาะเมื่อเริ่มพูดและจบลง
ณ ที่ที่มีการเจรจาเท่านั้น
แต่อาจจะเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาในการดำเนินการมาก่อนหน้าที่จะมีการเจรจาต่อรองกันขึ้น
เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง เช่น
การออกข่าวหนังสือพิมพ์ก่อนจะมีการต่อรอง
กลยุทธ์ในการเจรจาต่อรอง
จึงหมายถึง เทคนิคในการใช้ปากให้เป็น ใช้ปากให้เหมาะสมต่อสภาพการณ์แวดล้อมและเงื่อนเวลา
หลักการในเจรจาต่อรองที่ต้องคำนึงเพราะมันส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลว
มีดังนี้
1.
หลักการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของต้นทุนและกำไร คือการที่คู่เจรจาต่างสามารถประเมินได้ว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการเจรจาและการยุติข้อขัดแย้งจะมีมากกว่าต้นทุน
2.
หลักความเชื่อมั่นต่อกัน ก่อนเริ่มการเจรจาต้องสร้างบรรยากาศแห่งความเชื่อมั่น
ตั้งแต่การพบหน้ากันครั้งแรกของคู่เจรจา
3. รู้จักจำกัดขอบเขตการเจรจาอย่าให้ขยายวงไปกระจายกับประเด็นอื่น ๆ
ที่อาจส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างกันทั้งระบบ
แนวทางในการเจรจา
1. แนวทางจิตวิทยา เป็นแนวทางในการใช้หลักจิตวิทยา
พูดจาหว่านล้อม โดยต้องพยายามทำความเข้าใจในเรื่อง
นิสัยใจคอ สถานภาพทางด้านอารมณ์ของคู่เจรจา
แรงบีบคั้น หรือสถานภาพ และบทบาทในด้านตำแหน่ง
2. แนวทางทฤษฎีเกม (Game Theory ) ทฤษฎีเกมตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่าคู่เจรจานั้นจะมีความรู้
ความสามารถเท่าเทียมกันและมีข้อมูลมากเท่าเทียมกัน องค์ประกอบดังกล่าว ทำให้คาดการณ์ข้อยุติได้
3.ทฤษฎี H.M.L
ในการเจรจาคู่เจรจาแต่ละฝ่ายจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายในการเจรจาเอาไว้
เป้าหมายในการเจรจามี 3 ระดับด้วยกัน
เรียกเป้าหมายในการเจรจาทั้ง
3 ระดับว่า “ทฤษฎี
H.M.L.” สามารถอธิบายได้ดังนี้
1. ระดับ “H” (High)
หมายถึงการบรรลุสู่เป้าหมายสูงสุดของคู่เจรจา
2. ระดับ “M” (Medium) หมายถึง
กรณีที่คู่เจรจาบรรลุเป้าหมายได้ 75 %
เรียกเป้าหมายดังกล่าวว่าเป็นเป้าหมายระดับกลาง
3. ระะดับ “ L “ (Low) หมายถึง
กรณีที่คู่เจรจาอยากได้เป้าหมายอย่างน้อยที่สุด ที่ 50 %
เรียกระดับนี้ว่าระดับที่เป็นขอบเขต
4. การเจรจาต่อรองด้วยแนวทางผสมผสาน หมายถึงการใช้แนวทางผสมผสานระหว่างการศึกษาทางจิตวิทยา
และการใช้ทฤษฎีเกม เข้าด้วยกัน
กระบวนการและขั้นตอนในการเจรจาต่อรองด้วย
“แนวทางผสมผสาน” จำแนกเป็นขั้นตอนหลัก ๆ 8 ขั้นตอน ประกอบด้วย
การเตรียมการ ประกอบด้วย
สะสมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตัวเราและคู่เจรจาให้มากที่สุด
กำหนดวัตถุประสงค์ และ
ระดับเป้าหมายในการเจรจา ตามหลัก H.M.L
กำหนดกลยุทธ์ในการเจรจา คือความพยายามในการเตรียมเนื้อหา
เป้าหมาย
และแนวทางในการเจรจาเพื่อดึงเกมให้คู่เจรจาไปสู่แนวทางที่มีการกำหนดไว้
การดำเนินการเจรจา
ในขั้นตอนนี้จะครอบคลุมตั้งแต่การเริ่มแนะนำตัวในการเจรจาต่อรอง
ตลอดจนช่วงของการพูดคุย ปรึกษาหารือ
บางครั้งอาจจะเรียกว่าเป็นขั้นตอนของการโต้คารม
สิ่งสำคัญ คือ
ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการพูดคุยในลักษณะที่ไม่มีข้อยุติ
ต้องแสดงเจตจำนงและพฤติกรรมในการเดินเข้าหากัน
เพื่อให้ลักษณะการพูดคุยมีท่าทีเป็นบวกด้วยกันทั้ง
2 ฝ่าย
มีคำตอบและมีการพูดคุยกันในลักษณะสร้างสรรค์เพื่อดึงเกมเข้าหากัน
อันจะนำไปขั้นตอนต่อไปที่จะหาข้อยุติในการเจรจาต่อรอง
การส่งสัญญาณ
หมายถึง
การที่คู่เจรจามีการชี้ในประเด็นที่พร้อมจะเจรจา หรือ การบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งเห็นถึงแนวทางที่อาจจะนำไปสู่การเจรจาและหาข้อยุติได้หลังจากที่มีการพูดคุยกันในด้านต่าง
ๆ แล้ว
และในขณะเดียวกันการส่งสัญญาณก็อาจจะเท่ากับเป็นการบอกอีกฝ่ายหนึ่งว่าในประเด็นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะคุยกันได้
การทำข้อเสนอ
หมายถึง การที่คู่เจรจาได้รวบรวมประเด็นต่างๆ
ที่คิดว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีความเห็นด้วย
ภายหลังจากที่ดูท่าทีของคู่เจรจาในการขั้นตอนการเจรจาและการส่งสัญญาณเรียบร้อยแล้วในขั้นตอนนี้คู่เจรจาจะเสนอแนะถึงเงื่อนไขต่าง
ๆ ที่ตัวเองคิดว่าคู่เจรจาอีกฝ่ายหนึ่งนั้นน่าจะสามารถต่อรองกันได้เพราะเป็นเงื่อนไขที่ประเมินจากท่าทีในระหว่างการเจรจา
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าขั้นตอนในการทำข้อเสนอเป็นขั้นตอนที่จะผลักดันให้การเจรจานั้นเป็นรูปธรรมเพราะเป็นขั้นตอนที่จะหาจุดร่วมของคู่เจรจาในประเด็นต่าง
ๆ อันจะเป็นการปูพื้นสู่ขั้นตอนในการเจรจาในลำดับต่อไป
การรวบรวมสรุปประเด็น
เป็นขั้นตอนของการนำเสนอข้อสรุปที่ได้มาจากการประเมินข้อเสนอและปฏิกิริยา
ของอีกฝ่ายหนึ่งต่อข้อเสนอในประเด็นต่าง
ๆ และมารวมกันเป็นการนำเสนอที่คำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ
ที่จำเป็นเพื่อที่จะผลักดันให้การเจรจาต่อรองนั้นไปสู่แนวทางที่จะหาข้อยุติดได้
และในขั้นตอนนี้คู่เจรจาจะต้องคำนึงถึงประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น คือ
ประเด็นแรก ถามว่าสิ่งที่เรายอมเขานั้นเป็นสิ่งที่คู่เจรจาของเราเห็นคุณค่าหรือไม่
ประเด็นที่สอง
ต้องประเมินว่าสิ่งที่เรายอมเขานั้นมีต้นทุนสำหรับเราเท่าไร
คุ้มค่าหรือไม่ที่เรายอมเพื่อให้อีกฝ่ายพอใจ
ประเด็นที่สาม ถ้าเรายอมเขาแล้ว เราได้อะไรจากการยอมเขา
เราต้องมีอะไรมาแลกเปลี่ยนเพื่อให้การเจรจานั้นเราไม่ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และในขณะเดียวกันเราต้องไม่เป็นฝ่ายเอาเปรียบคู่เจรจา
เพื่อทำให้การเจรจานั้นสามารถไปสู่เป้าหมายแห่งการไว้ใจ
ทำให้โอกาสหาข้อยุติที่จะเป็นผลประโยชน์ต่อกันและกันมีสูงขึ้นในอนาคต
การต่อรองขั้นสุดท้าย
เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความชำนาญและเทคนิคในการเจรจาที่ละเอียดอ่อน
เพราะเป็นขั้นตอนที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “เข้าด้าย
เข้าเข็ม”
เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ต่างฝ่ายต่างหันเข้ามาหาจุดที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันได้
ความสำเร็จในการเจรจาต่อรองของแต่ละฝ่ายวัดได้จากผลได้กับผลเสีย
โดยเทียบผลได้และผลเสียที่ตัวเราได้รับ
กับอีกฝ่ายหนึ่งได้รับว่า มีสัดส่วนต่างกันแค่ไหน
ซึ่งย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการขั้นตอนของการต่อรองในช่วงนี้นี่เอง
การปิดการเจรจาต่อรอง
เป็นขั้นตอนของการเริ่มเข้าสู่จุดหมายปลายทาง
หรือการหาข้อยุติในการเจรจาต่อรองเพื่อเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย
ประเด็นสำคัญของการปิดการเจรจาต่อรอง ก็คือจะหาข้อยุติเมื่อไร เงื่อนเวลาในการหาข้อยุตินั้นจะเป็นตัวตัดสินว่าข้อยุตินั้นเป็นผลประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายร่วมกัน
การทำข้อตกลง
การทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการ
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการในการเจรจาต่อรอง
เป็นขั้นตอนที่จะรองรับกับข้อยุติที่ได้บรรลุก่อนหน้านี้
การหาข้อยุติในการเจรจาต่อรองอันนำไปสู่การทำข้อตกลงจึงมีความละเอียดอ่อนเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งอาจมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความหลงลืมของคู่เจรจา
หรือการตีความ ซึ่งอาจนำไปสู่การถกเถียงกันในประเด็นต่าง ๆ ตามมา
ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคตสิ่งที่ตกลงกันไม่ว่าจะสำคัญหรือไม่สำคัญอาจมีความจำเป็นที่จะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรให้เป็นหลักฐานชัดเจน