ตลอด
ระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา
บ้านเรากลายเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้มีผลการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เผยว่า ใน พ.ศ.2550 ไทยมีผู้สูงอายุราว 1 ใน 10 ของประชากร
และคาดว่าเมื่อถึง พ.ศ.2573 จะมีเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนประชากร
การที่ในสังคมมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก หมายถึงคนมีอายุยืนยาวขึ้น เมื่อสภาพการณ์เป็นเช่นนั้น คนเราควรดูแลสุขภาพตนเองให้ดีก่อนเข้าวัยชรา และในครั้ง มุมสุขภาพ ขอแนะนำเคล็ดลับการดูแลสุขภาพหัวใจ ข้อมูลควรรู้จากงานเฮลธี 50 พลัส ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ที่จัดไปเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา
8 วิถีเพื่อสุขภาพหัวใจ เริ่มจาก รู้จักตัวเอง โดย พฤติกรรมส่วนตัว และการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ เช่น การกิน การออกกำลังกาย การเลิกสูบบุหรี่ ตามด้วย ผ่อนคลายความเครียด เนื่องจากมีผลทำให้ความดันโลหิต และระดับฮอร์โมนความเครียดเพิ่มสูงจนเป็นอันตราย
ต่อมา ลดน้ำหนักส่วนเกิน เพราะเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง นำไปสู่โรคหัวใจทั้งสิ้น จากนั้น 'รับประทานอาหารที่มีประโยชน์' แนะให้ลดอาหารที่มีไขมันมาก และไขมันแปลงสภาพ ควรรับประทานผักและผลไม้ โปรตีนไขมันต่ำในปริมาณที่พอเหมาะ
พร้อมทั้งอย่ามองข้าม ตรวจสุขภาพเป็นประจำ การตรวจสุขภาพช่วยให้พบปัญหาที่อาจกลายเป็นอันตรายได้ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม ควบคุมความดันโลหิต ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุพื้นฐานของโรคหัวใจ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความดันสูง
นอกจากนี้ คือ อย่าอยู่เฉย การออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคอื่นๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ สุดท้าย งดบุหรี่ เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจที่ร้ายแรง เนื่องจากเต็มไปด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ปฏิบัติตาม 8 วิถีข้างต้น ยามแก่ชราย่อมมีหัวใจที่แข็งแรงแน่
Read more ►
การที่ในสังคมมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก หมายถึงคนมีอายุยืนยาวขึ้น เมื่อสภาพการณ์เป็นเช่นนั้น คนเราควรดูแลสุขภาพตนเองให้ดีก่อนเข้าวัยชรา และในครั้ง มุมสุขภาพ ขอแนะนำเคล็ดลับการดูแลสุขภาพหัวใจ ข้อมูลควรรู้จากงานเฮลธี 50 พลัส ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ที่จัดไปเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา
8 วิถีเพื่อสุขภาพหัวใจ เริ่มจาก รู้จักตัวเอง โดย พฤติกรรมส่วนตัว และการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ เช่น การกิน การออกกำลังกาย การเลิกสูบบุหรี่ ตามด้วย ผ่อนคลายความเครียด เนื่องจากมีผลทำให้ความดันโลหิต และระดับฮอร์โมนความเครียดเพิ่มสูงจนเป็นอันตราย
ต่อมา ลดน้ำหนักส่วนเกิน เพราะเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง นำไปสู่โรคหัวใจทั้งสิ้น จากนั้น 'รับประทานอาหารที่มีประโยชน์' แนะให้ลดอาหารที่มีไขมันมาก และไขมันแปลงสภาพ ควรรับประทานผักและผลไม้ โปรตีนไขมันต่ำในปริมาณที่พอเหมาะ
พร้อมทั้งอย่ามองข้าม ตรวจสุขภาพเป็นประจำ การตรวจสุขภาพช่วยให้พบปัญหาที่อาจกลายเป็นอันตรายได้ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม ควบคุมความดันโลหิต ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุพื้นฐานของโรคหัวใจ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความดันสูง
นอกจากนี้ คือ อย่าอยู่เฉย การออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคอื่นๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ สุดท้าย งดบุหรี่ เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจที่ร้ายแรง เนื่องจากเต็มไปด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ปฏิบัติตาม 8 วิถีข้างต้น ยามแก่ชราย่อมมีหัวใจที่แข็งแรงแน่