Browse » Home
» วิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน
» อยากเรียนวิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอนบ้าง
วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
อยากเรียนวิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอนบ้าง
มหาวิทยาลัยในอเมริกา เมื่อสิ้นปีการศึกษาถึงช่วงรับปริญญา ประเพณีที่ทำมานานคือ “การกล่าวสุนทรพจน์” จากผู้ที่มีชื่อเสียงที่ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัย ผมมีโอกาสได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่ง เขาเพิ่งสำเร็จการศึกษาจากอเมริกามาไม่นาน เขาเล่าให้ฟังถึงสุนทรพจน์ที่เขาได้ฟังในวันรับปริญญา เขาบอกว่าที่อเมริกาถือว่าเป็นโอกาสที่พิเศษช่วงหนึ่งที่ทางมหาวิทยาลัยจะเลือกเฟ้นบุคคลที่มีชื่อเสียงจากหลากหลายวงการ หรือไม่ก็เป็นบุคคลที่คนทั่วไปในมหาวิทยาลัยรู้จัก ที่สำคัญบุคคลนั้นต้องพิเศษในโอกาสปัจฉิมกถาครั้งสำคัญก่อนที่บัณฑิตจะก้าวเท้าเดินย่ำออกไปบนถนนชีวิตเปรียบ “การกล่าวสุนทรพจน์” เป็นเหมือน “วิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน” ศาสตร์ที่เป็นความรู้ฝังลึก
ผ่านประสบการณ์ของบุคคลจึงเป็นเสมือนกุญแจไขประตูให้นักเดินทางที่เตรียมพร้อมจะเดินสู่โลกภายนอก ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของผู้กล่าวสุนทรพจน์ผ่านการเล่าความในระยะเวลาที่กำหนดไว้...และนั่นเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่า ที่ไม่ควรพลาดของบัณฑิตที่ทุกคนต่างตั้งหน้าตั้งตารอคอยว่า “ใคร” จะมาเป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์ในวันรับปริญญาของพวกเขาSteve Jobs ผู้ก่อตั้ง ประธานกรรมการและซีอีโอ ของบริษัทแอปเปิ้ล ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่ Stanford University เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ผมอ่านทบทวนเนื้อหาสุนทรพจน์นี้หลายรอบ ข้อความที่ประทับใจมากคือประโยคที่สตีฟกล่าวว่า
“ความสำนึกว่าผมจะต้องตายในไม่ช้าเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดที่ผมรู้จัก ที่ผมใช้ในการตัดสินใจสำคัญ ๆ ของชีวิต เพราะเกือบทุกสิ่งทุกอย่าง...ล้วนไม่มีความหมายอะไรเลยเมื่อเทียบกับความตาย เหลือเพียงสิ่งสำคัญจริง ๆเท่านั้น มรณานุสติเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ผมรู้”สตีฟบอกถึงความเป็นจริงของชีวิตที่เราต้องยอมรับ ดังนั้นเราต้องก้าวไปข้างหน้า ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำตามที่ใจเรา
ต้องการ สุดท้ายเขาฝากประโยคหนึ่งที่เป็นคติประจำใจของเขามาโดยตลอด “อย่าทิ้งความกระหาย อย่าคลายความเชื่อ” (StayHungry. Stay Foolish.) อวยพรให้น้อง ๆ ที่จะเดินออกนอกรั้วมหาวิทยาลัย สิ่งที่ผมได้จากการอ่านสุนทรพจน์ของสตีฟ คือการ
ย้อนกลับมามองดูตัวเอง เมื่อเวลาล่วงผ่านไปถึงจะมองเห็นคำพูดของเขา และให้เราคิดถึงการเชื่อมจุด “การรักที่จะเรียนรู้” และในที่สุดผลของความรักในการเรียนรู้จะเป็นทุนที่แฝงไว้เป็นเสบียงของชีวิต
ที่ Harvard University ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2550 Bill Gates ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ บริษัท
ซอฟต์แวร์ที่มีคนใช้ผลิตภัณฑ์มากที่สุดในโลก ในวันที่เขากล่าวสุนทรพจน์เป็นวันที่เขาได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์จากฮาวาร์ดในปี 2550 นั่นเอง ในตอนหนึ่งของสุนทรพจน์ เขากล่าวถึงการฝ่าฟันความซับซ้อนเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหามีทั้งหมด 4 ตอน คือ การกำหนดเป้าหมาย การหาวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด การหาเทคโนโลยีในอุดมคติสำหรับวิธีนั้นๆ และการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วที่เหมาะสมกับสถานการณ์มาใช้ก่อน ในเนื้อหาที่เขากล่าวถึงวิธีการแก้ไขปัญหานี้เขาได้คิดถึงการดูแลสุขภาพที่ผู้คนในโลกต้องเจ็บป่วย-ล้มตายกับโรคที่ป้องกันได้ เขาบอกต่ออีกว่า “การบรรลุเป้าหมายด้านการป้องกัน แปลว่าเราจะต้องสร้างวงจรสี่ขั้นตอนขึ้นมาใหม่นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราต้องไม่หยุดคิด หรือหยุดทำงาน” “อย่าปล่อยให้ความซับซ้อนหยุดคุณไว้กับที่จงทำตัวเป็นนักเคลื่อนไหวจงต่อกรกับความไม่เท่าเทียมอันร้ายกาจการทำแบบนี้จะกลายเป็นประสบการณ์อันยิ่ง-ใหญ่เรื่องหนึ่งในชีวิตคุณ”ทั้งสองผู้มีชื่อเสียงในระดับโลกกับสุนทรพจน์ที่
สร้างพลังจากข้างในเชื้อเชิญให้บัณฑิตใหม่ก้าวเดินสู่โลกภายนอกด้วยวิชาสุดท้าย ก่อนที่พวกเขาจะเรียนรู้ด้วยตนเองพร้อมกับทำการบ้านในวิถีชีวิตจริงของแต่ละคนหนังสือแปลเล่มนี้บรรจุ “วิชาสุดท้าย” ที่มีคุณค่ายิ่ง เป็นวิชาที่เคี่ยวกรำผ่านประสบการณ์ของผู้กล่าวสุนทรพจน์ น่าสังเกตว่าบรรดาผู้ที่ได้รับคัดเลือกกล่าวสุนทรพจน์ทั้งหมด เล่าเรื่องราวผ่านความล้มเหลวของพวกเขาอย่างภูมิใจ เพราะความล้มเหลวที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนการสอบเลื่อนชั้น ในที่สุดบทเรียนเหล่านั้นผลักให้พวกเขามาถึงจุดนี้ และวันนี้พวกเขาได้รับการคัดเลือกมากล่าวสุนทรพจน์ที่ยกมาเล่าทั้งหมดเป็นการเล่าถึงบทแรกและบทที่สองของหนังสือแปลเล่มนี้เท่านั้น แต่ภายในเล่มยังบรรจุ
สุนทรพจน์ดี ๆ อ่านแล้ว “กินใจ” สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ฟัง นอกจากสองผู้ยิ่งใหญ่ Steve Jobs และ BillGates ยังมีสุนทรพจน์ของ David Foster Wallace นักเขียนชื่อดัง จากนวนิยายขนาดยาวเรื่อง Infinite Jest(การล้อเลียนไม่มีที่สิ้นสุด) Russell becker นักเขียนแนวเสียดสีชาวอเมริกัน โด่งดังจากหนังสืออัตชีวประวัติเรื่องGrowing Up และคอลัมน์ “Observer” ในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์ก ไทมส์ และ Bono หรือ พอล เดวิด ฮิว-สัน นักร้องนำและนักแต่งเพลงประจำวงร็อคดังสัญชาติไอริช และอีกหลายท่านที่โด่งดังเป็นที่รู้จักในระดับสากลที่เก็บรวบรวมสุนทรพจน์ไว้ในหนังสือเล่มนี้เป็นความจริงข้อหนึ่งที่เราต้องยอมรับในระบบการศึกษาว่าไม่ได้เป็นทั้งหมดของต้นทุนชีวิต และมหาวิทยาลัยไม่ได้สอนสูตรสำเร็จทั้งหมด เพื่อค้นหาความหมายของชีวิตหรอก การศึกษาเป็นเพียงสะพานโยงให้ถึงอีกฟากหนึ่งเมื่อก้าวถึงฝั่งแล้วก็หมายถึงการเดินทางต่อและการศึกษาในโรงเรียนชีวิตของเราจะเริ่มต้นได้จริงก็ต่อเมื่อผ่านพ้นวันรับปริญญาไปแล้ว หลังจากนั้นเราก็ต้องเดินทางต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งจวบจนวันตาย
หนังสือที่นักศึกษาทุกคนควรอ่านก่อนสำเร็จการศึกษา
หนังสือที่คนทำงานทุกคนควรอ่านเพื่อสำรวจชีวิตที่ผ่านมา
หนังสือที่ผู้บริหารทุกคนควรอ่านเพื่อทบทวนเวลาที่ผ่านเลย
สุดท้ายขอจบด้วยบทคัดย่อจากเว็บ onopen.comเพราะเห็นว่าเป็นการสรุปความที่กระชับและเหมาะสมที่สุด
“หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เหมาะสำหรับนักศึกษาเท่านั้น หากแต่ประสบการณ์ชีวิตของผู้ที่ได้รับเชิญมาแต่ละท่าน เมื่อได้อ่านแล้วยังทำให้คนทำงานได้มีโอกาสทบทวนและแสวงหาความหมายของการมีชีวิตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่โลกกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ ๆ เช่นทุกวันนี้”
ข้อขอบคุณข้อมูลจากนิตยสารหมออนามัย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น