นับเป็นการกล่าวปาฐกถาที่ประชาชน และนักธุรกิจทุกคนจะต้องฟังอย่างตั้งใจ สำหรับการพูดถึงวิธีการบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จของ “คุณไกรสร จันศิริ” ประธานกรรมการ บริษัท ไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกทูน่ากระป๋องอันดับหนึ่งของโลก
คุณไกรสรพูดในฐานะได้รับการคัดเลือกให้เป็น “บุคคลสัมมาชีพแห่งปี 2554” ซึ่งจัดขึ้นโดย “มูลนิธิสัมมาชีพ”
เมื่อค่ำคืนวันที่ 28 มกราคม 2555 ณ โรงแรมอิมพิเรียลควีนปาร์ค สุขุมวิท
โดยเมื่อ 2 ปีก่อนบุคคลที่รับรางวัลเดียวกัน คือ คุณบุญเกียรติ โชควัฒนา
ในปี 2552 และคุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ในปี 2553
คุณไกรสรบอกถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจของไทยยูเนี่ยนฯ ว่าปี 2011
ไทยยูเนี่ยนฯ ตั้งเป้ารายได้เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ประมาณ 40% คือ
ไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย 9 เดือนแรกของปี 2011
เรามีรายได้กว่า 72,000 ล้านบาท เท่ากับ 2,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
คิดเป็นกำไรสุทธิกว่า 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับปี 2010
ทั้งปีได้กำไรสุทธิ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพียง 9
เดือนกำไรของเราเพิ่มขึ้น 30%
เมื่อวันที่ 14-15 ธันวาคม 2010
คุณไกรสรได้เรียกผู้บริหารในเครือบริษัทมาโชว์วิสัยทัศน์และแผนงานเพื่อ
กำหนดเป้าหมายรายได้ของบริษัทฯ จากปี 2012-2020
โดยผู้บริหารทุกคนตั้งเป้าให้ผมต้องไม่น้อยว่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, ปี
2015 ไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2020 ต้องไม่น้อยกว่า 8,000
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
คุณไกรสรสังเกตในที่ประชุมพบว่า ผู้บริหารเครือบริษัทต่างๆ
ล้วนแต่มีความตั้งใจและเป็นคนที่มี New Vision, New Plan, New Strategy
และเป็นคนที่มี New Synergy
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วทำให้คุณไกรสรค่อนข้างมั่นใจว่าไทยยูเนี่ยนฯ
จะประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าที่ไม่น้อยกว่า 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี
2020 อย่างแน่นอน
กว่า 35
ปีที่คุณไกรท่องอยู่ในยุทธจักรปลาทูน่าโลกย่อมไม่ใช่เรื่องธรรมดา
ผ่านทั้งความเจ็บปวด เสียใจ หรือแม้แต่ความภาคภูมิใจ
แต่สิ่งที่ทำให้คุณไกรสรฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มาได้จนประสบความสำเร็จในวันนี้
คือ การยึดหลักปรัชญาการดำเนินชีวิต 6 ประการ โดยประการแรกสร้างธุรกิจด้วยความขยันและประหยัด
แม้ว่าเขาจะเรียนน้อยแต่อาศัยความขยัน คือ
ทำให้งานให้มากกว่าคนอื่นหลายเท่า ความขยันจะชดเชยให้กับคนที่ไม่ฉลาด
แนวทางการบริหารธุรกิจของคุณไกรสรไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การประหยัด
แต่มุ่งเน้นไปที่การสร้างผลกำไรให้กับบริษัทมากกว่า
ประการที่สองธำรงรักษาไว้ซึ่งความน่าเชื่อ
พูดง่ายๆ คือ การรักษาเครดิต หลายคนอาจคิดว่าเครดิตเกี่ยวข้องกับการกู้เงิน
แต่คุณไกรสรคิดต่างมองว่าความน่าเชื่อไม่ใช่เครดิตเงินอย่างเดียว
แต่คนที่ทำธุรกิจต้องรักษาเวลา รักษาคุณธรรม รักษาจริยธรรม
รักษาความรู้ความสามารถ กตัญญูต่อพ่อแม่ ให้ความรักแก่ลูกหลานตนเอง
ประการที่สามความร่วมมือสร้างประโยชน์ทั้งคู่
คุณไกรสรมองว่ามิตรภาพกับลูกค้าถือเป็นที่หนึ่ง ลูกค้าถือเป็นเพื่อนกัน
ให้ความช่วยเหลือกัน
ขณะที่คู่แข่งในเชิงการค้าต้องจับมือมาแข่งขันแบบเพื่อนฝูง
ไม่ใช่แข่งเอาเป็นตาย
เพราะจะทำให้คู่แข่งจากต่างชาติใช้ช่องว่างเอาเปรียบได้ เขาจะบีบอะไรก็ได้
สุดท้ายตายทั้งคู่ ขณะเดียวกันเจ้าของธุรกิจต้องให้เกียรติพนักงาน หุ้นส่วน
และลูกๆ หลานๆ ให้เขาแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
วิธีการถ่ายทอดธุรกิจของคุณไกรสรให้กับลูกหลาน
แตกต่างจากคนอื่นที่จะให้ไปเรียนรู้การทำงานในโรงงานเหมือนกับพนักงานคนอื่น
ทั้งแกะกุ้ง แกะปลา ไล่ให้ไปอยู่โรงงานจนครบแผนก ไม่มีการขับรถเข้าโรงงาน
ไม่ออกไปกินข้าวข้างนอก เพื่อต้องการให้ลูกเรียนรู้ทุกอย่างภายในโรงงาน
เมื่ออยู่บ้านเป็นพ่อกับลูก แต่ถ้าอยู่โรงงานเป็นเพื่อนร่วมงาน
ประการที่สี่เข้มงวดตัวเองอย่างไม่หยุดยั้ง
รวมทั้งความรู้และกิจการ
คุณไกรสรมองว่าความรู้มีความกว้างใหญ่เหมือนมหาสมุทร
ซึ่งความรู้ที่คนเรามีอยู่นั้นเพียงแค่น้ำทะเลหยดเดียว
คุณไกรสรบอกว่ายิ่งตนเองเรียนมากเท่าไหร่ยิ่งรู้สึกว่าความรู้ยังไม่เพียงพอ
เพราะโลกพัฒนาไปเร็วมาก ถ้าตนเองไม่เรียนก็จะไม่ทันลูกหลาน
ไม่สามารถดูแลกิจการได้ ขณะที่การดำเนินธุรกิจถ้าคุณคิดว่าควรจะอยู่กับที่
นั่นแสดงว่าคุณกำลังเดินถอยหลัง ธุรกิจต้องขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ประการที่ห้าการรู้จักตอบแทนบุญคุณคน
แม้แต่น้ำหยดเดียวคุณไกรสรยังจดจำตลอดชีวิต
แต่ถ้ามาอยู่กับคุณไกรสรจะตอบแทนกลับเหมือนน้ำพุ
เพราะเมื่อตอบแทนบุญคุณคนแล้วทำให้ตนเองสบายใจ
และคนที่มีบุญคุณกับเราก็จะมีความสุข
เพื่อที่จะให้เขาไปทำกับคนอื่นที่เดือดร้อนต่อไป
ประการที่หกคืนประโยชน์ให้กับสังคม
ธุรกิจที่ได้กำไรแล้วต้องคืนประโยชน์ส่วนหนึ่งให้กับสังคม
ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การกีฬา หรือให้ความช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยธรรมชาติ
และคนเดือนร้อนต่างๆ
ถือเป็นการสร้างบุญกุศลทำให้มีตนเองความสุขและจิตใจผ่องใส ดังนั้น
ธุรกิจที่รวยแล้วต้องมีการช่วยเหลือสังคมบ้าง
ถือเป็นปรัชญาการดำเนินชีวิตและทำธุรกิจที่สุดยอดจริงๆ
เพราะแม้ว่าคุณไกรสรจะไม่มีความรู้เท่ากับคนอื่น
แต่คุณไกรสรรักที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด
อะไรไม่เป็นต้องทำให้เป็น ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เชื่อแน่ว่าเป้าหมายกำไร
8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 คงจะอยู่ในกำมือ
ขอขอบคุณเนื้อหาจากเวบ การค้าอาเซียน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น